อกบุ๋ม หรือ Pectus Excavatum คือ ภาวะความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกอ่อนที่เชื่อมกับกระดูกหน้าอก และกระดูกซี่โครง ทำให้บริเวณกลางอกยุบลงมากกว่าปกติ และกลายเป็นอกบุ๋ม
อกบุ๋ม โดยทั่วไปแล้วจะพบได้ในเพศชาย มากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีปัจจัยมาจากทางพันธุกรรม ที่มีส่วนทำให้เป็นอกบุ๋มได้ตั้งแต่กำเนิด และมักจะมีโอกาสเป็นกระดูกสันหลังคดได้ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่น กลุ่มอาการความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หรือเส้นเอ็นทั่วร่างกายเกิดหย่อนแต่กำเนิด มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นอกบุ๋ม
ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด
อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายได้น้อยลง
ถ้ามีอาการรุนแรง ผู้ป่วยควรงดกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาบางชนิด ในบางรายอาจจะมีปัญหาในการเข้า หรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan เพื่อหาระดับความรุนแรงของโรค และสามารถเห็นโครงสร้างกระดูกว่านูน หรือบุ๋ม
ตรวจการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง เพื่อดูการทำงานของหัวใจ
การตรวจสมรรถภาพปอด เพื่อดูการทำงานของปอด ว่าปกติดีหรือไม่
แบบไม่ผ่าตัด
ใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องดูดสุญญากาศ ดึงบริเวณที่กระดูกอกยุบขึ้นมา อาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-2 ปี จึงจะเห็นผล
เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด
มีอายุที่น้อยเกินไป และยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด
ผู้ที่มีภาวะอกบุ๋มเล็กน้อยถึงปานกลาง และไม่รุนแรง
แบบผ่าตัด
การผ่าตัดส่องกล้อง
คือ การผ่าตัดโดยใช้แท่งโลหะ ลอดผ่านใต้กระดูกหน้าอก และทำการดัดโลหะให้เข้ารูป เพื่อไปดามกระดูกที่ผิดรูปร่าง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 ปี ก่อนจะนำแท่งโลหะออก
เหมาะสำหรับผู้ป่วย
หายใจไม่สุด เหนื่อยง่าย
เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
ลักษณะของหน้าอกผิดปกติ
การผ่าตัดแบบเปิด
นำกระดูกอ่อนที่ขึ้นผิดรูปร่าง ซึ่งเชื่อมอยู่กับซี่โครงใต้กระดูกออกก่อน หลังจากนั้นจะใช้วิธีการสอดแท่งโลหะ แทรกเข้าระหว่างช่องว่างบริเวณกระดูกสันอก และเยื่อหุ้มหัวใจ เพื่อช่วยดันกระดูกหน้าอก ให้ยกตัวขึ้นมาอยู่ในระดับที่ปกติ แพทย์จะนำแท่งโลหะออก หลังจากผ่าตัดเป็นระยะเวลา 2-3 ปี
ให้งดการยกของที่มีน้ำหนักเยอะ และกีฬาที่ต้องใช้ร่างกายปะทะ แนะนำให้ออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้แรง หรือเข้าการปะทะเยอะ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือว่ายน้ำ เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีอาการอกบุ๋มรุนแรง อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ และปอด เช่น ปอดที่ไม่ขยายอย่างเต็มที่ ซึ่งความผิดปกติดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดการเบียดบริเวณหัวใจ จนเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ทำให้มีผลต่อการสูบฉีดเลือด
ปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ เพราะเป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่กำเนิด แต่ถ้าหากสังเกตเห็นความผิดปกติ หรือมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอกบุ๋ม เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก
กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ หรือโรคหนังยืดแบบผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบเจอว่าเข้าข่ายอกบุ๋ม จะได้เข้ารับการรักษาโดยทันที
เชื่อว่าหลายท่าน น่าจะเพิ่งเคยได้ยินชื่อภาวะอกบุ๋มเป็นครั้งแรก ตอนอ่านบทความนี้ หรืออาจจะรู้จักภาวะนี้กันมาอยู่แล้ว อกบุ๋มเป็นภาวะที่อาจจะมีอาการไม่รุนแรง โดยความรุนแรงจะทวีคูณขึ้น ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนของอกบุ๋มโผล่ขึ้นมา ท่านใดที่มีอาการ หรือภาวะแทรกซ้อน ที่เข้าข่ายว่าจะเป็นอกบุ๋ม ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาโดยทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง