นิวโมคอคคัส
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส สาเหตุหลักที่อาจนำไปสู่ปอดอักเสบ

 

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Disease) คือ โรค IPD ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า นิวโมคอคคัส สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้ ยังเป็นสาเหตุหลักที่สามารถนำไปสู่โรคปอดอักเสบได้อีกด้วย

 

 

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส คือ ? 

 

นิวโมคอคคัส เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปบริเวณลำคอ และโพรงจมูก สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้คล้ายกับไข้หวัด ถ้าผู้ป่วยมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง อาการอาจจะไม่แสดงออกมา แต่ถ้าหากภูมิต้านทานอ่อนแอ เชื้อนิวโมคอคคัสอาจทำให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นกับร่างกายได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

 

 

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เกิดจากสาเหตุใด ?

 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptococcus Pneumoniae ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณไซนัส, หูชั้นกลาง, ปอด, สมอง หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถนำผู้ป่วยไปสู่ภาวะที่เป็นวิกฤต และอาจเสียชีวิตได้

 

 

การแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

 

 

ไอ

 

 

หากเป็นผู้ป่วยที่มีเชื้อ แต่อาจไม่แสดงอาการใดออกมา จะเรียกผู้ป่วยกลุ่มนั้นว่า พาหะของโรค ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้คล้ายกับการแพร่เชื้อไข้หวัดผ่านทางเสมหะ, การไอ, จาม, น้ำลาย หรือการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย

 

 

อาการของโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

 

ปอดอักเสบ 

 

จะมีไข้, ไอ, หายใจลำบาก และเจ็บที่บริเวณหน้าอก

 

 

หูชั้นกลางอักเสบ

 

 

หูชั้นกลางอักเสบ

 

 

ผู้ป่วยอาจสูญความสามารถในการได้ยิน, ปวดหู, มีไข้

 

 

การติดเชื้อในกระแสเลือด 

 

ปวดเมื่อยตามร่างกาย, ศีรษะ, เจ็บกล้ามเนื้อ และมีไข้

 

 

ไซนัสอักเสบ 

 

มีน้ำมูกสีเขียว และเหลือง, แน่นจมูก, ปวดใบหน้ากับศีรษะ

 

 

การติดเชื้อบริเวณสมอง และไขสันหลัง

 

คอแข็ง, คลื่นไส้ อาเจียน, ไข้สูง, ปวดศีรษะ, และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตได้

 

 

กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

 

  • เด็กเล็ก

 

  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

 

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

 

  • บุคคลที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน, โรคปอด, โรคตับเรื้อรัง และโรคหัวใจ เป็นต้น

 

  • บุคคลที่ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

 

  • บุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี, ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และสเตียรอยด์ขนาดสูง เป็นต้น

 

  • ผู้ป่วยที่มีการสูบบุหรี่

 

 

การรักษาโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

 

แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในขนาดที่เหมาะสมกับอาการ หรือโรค เพื่อครอบคลุมอาการของผู้ป่วย แพทย์จะมีการเพาะเชื้อ และเมื่อทราบผล อาจเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นชนิดที่ใช้กับเชื้อนั้น เพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นเร็วที่สุด

 

 

การป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

 

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

 

  • รักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ ควรล้างมือทุกครั้งเมื่อมีการสัมผัสสิ่งของสาธารณะ

 

 

สวมหน้ากากอนามัย

 

 

  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ

 

  • เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

 

 

โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นหนึ่งในโรคที่มีความอันตรายต่อเด็ก และผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ดังนั้น ควรป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากมีอาการเข้าข่าย ให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และดำเนินการรักษาต่อไป



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ+วัคซีนไข้หวัดใหญ่

 

วัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย