“การตั้งครรภ์” เป็นช่วงเวลาที่สวยงามและสำคัญที่สุดของสุภาพสตรีอีกช่วงหนึ่ง คุณแม่ทุกคนล้วนต้องการให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง, คลอดง่าย และภาวนาให้ไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นกับลูกในครรภ์ แต่มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ต้องเสี่ยงกับภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้หากคุณแม่ไม่สังเกตอาการของตนเอง อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้
ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงหลังคลอด สาเหตุของการเกิดครรภ์เป็นพิษนั้นยังไม่แน่ชัด โดยมีข้อสมมติฐานต่าง ๆ ที่ทางแพทย์คาดเดาไว้ เช่น
เกิดจากรกทำงานผิดปกติ ทำให้มีสารบางชนิดกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัวอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
เกิดจากความผิดปกติของการฝังตัวของรกบริเวณผนังมดลูก จนทำให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ และเกิดการหลั่งสารพิษบางอย่างเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อย จนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
เกิดจากภาวะโปรตีน หรือไข่ขาวรั่วออกมาปะปนอยู่ในปัสสาวะ
ปวดศีรษะ, ตาพร่ามัว
รู้สึกคลื่นไส้ และอาเจียน
รู้สึกปวดที่บริเวณใต้ลิ้นปี่
น้ำหนักตัวขึ้นเร็วผิดปกติ, บวมตามใบ้หน้า, มือ และเท้า
หากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการชัก, เลือดออกจากช่องคลอด หรือทารกในครรภ์มีการดิ้นน้อยลง เป็นต้น ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ควรรีบพาคุณแม่เข้าพบแพทย์ทันที
เกิดจากกรรมพันธุ์ หากพบว่ามีคนในครอบครัวเคยเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อน
โรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
สตรีที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
สตรีที่ตั้งครรภ์ฝาแฝด หรือตั้งครรภ์มากกว่า 1 คน
สตรีที่เคยเกิดภาวะนี้ในตอนตั้งครรภ์ครั้งที่ผ่านมา
สตรีที่มีบุตรยาก
มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน, โรคไทรอยด์, โรคไต, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ภาวะครรภ์เป็นพิษแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ระดับไม่รุนแรง
คุณแม่จะมีความดันโลหิตสูง 140/90-160/110 มิลลิเมตรปรอท แต่จะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดขึ้น
ระดับรุนแรง
คุณแม่จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ตับอักเสบ, เกล็ดเลือดต่ำ, ไตทำงานน้อยลง รวมถึงเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
ระดับอันตราย
คุณแม่มีอาการชัก, เกร็ง และหมดสติ ซึ่งในระยะนี้จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะอาจจะทำให้คุณแม่และลูกน้อยเสียชีวิตได้
คลอดก่อนกำหนด ในบางครั้งอันตรายจากครรภ์เป็นพิษอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ต้องทำให้ตัดสินใจคลอดก่อนกำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย และเมื่อคลอดก่อนกำหนดจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกโดยตรง
รกลอก โดยรกอาจจะลอกหรือหลุดก่อนกำหนดได้ หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดอาการเลือดออกอย่างมาก มีผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ทั้งผู้เป็นแม่และทารกในครรภ์
การเติบโตของทารกผิดปกติ ภาวะครรภ์เป็นพิษส่งผลให้เด็กทารกรับสารที่จำเป็นได้น้อยลง เช่น สารอาหารและออกซิเจน ส่งผลให้เมื่อถึงกำหนดคลอด เด็กทารกอาจจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานได้
อาการชัก อาการนี้อันตรายเป็นอย่างมากต่อทารกในครรภ์และตัวคุณแม่ เนื่องจากอาการชักมักจะไม่แสดงอาการหรือส่งสัญญาณให้รู้ก่อน เมื่อคุณแม่เกิดอาการชักแพทย์จึงจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่
อาการ HELLP เป็นภาวะที่มีความรุนแรงอย่างมาก ส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอีกด้วย โดยจะเกิดความเสียหายจากอวัยวะหลายจุด อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้เช่นกัน หากเกิดอาการขึ้นจะสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ เช่น ปวดศีรษะ, อาเจียน, คลื่นไส้ เป็นต้น
ความเสียหายต่ออวัยวะส่วนอื่น ร่างกายของผู้เป็นแม่สามารถเสียหายได้หลายจุด เช่น หัวใจ, ปอด, ตับและไต เป็นต้น ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้น จะแปรผันตามความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิษนั่นเอง
การตรวจสุขภาพเบื้องต้น แพทย์จะซักถามประวัติทางการแพทย์กับผู้ป่วยและครอบครัว จากนั้นจะทำการตรวจดูว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น สายตาพร่ามัวมองไม่ชัดเจนเหมือนปกติ หรือมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่อง เป็นต้น
การตรวจเลือด ทำให้ทราบถึงปริมาณของเกล็ดเลือด หรือการทำงานของตับและไต
การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาไข่ขาวหรือโปรตีนจากปัสสาวะ ซึ่งหากตรวจพบโปรตีนภายในปัสสาวะ แพทย์จะส่งตัวอย่างปัสสาวะเข้าตรวจที่ห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันผล
การตรวจวัดความดันโลหิต จะเป็นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเพื่อดูว่าคุณแม่เข้าข่ายจะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่ ถ้าหากระดับของความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท คุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษขึ้น โดยการตรวจวัดความดันโลหิต แพทย์อาจจะมีการตรวจหลายครั้ง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
การตรวจสุขภาพของทารก เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อทารกเคลื่อนไหวหรือมีการดิ้น โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้วิธีการอัลตราซาวด์เพื่อดูการเคลื่อนไหว, การหายใจ และการขยับกล้ามเนื้อของทารก เป็นต้น
การรักษาภาวะดังกล่าวมีเพียงวิธีเดียวคือการคลอด ซึ่งการคลอดแพทย์จะทำการตรวจวัดตามความเหมาะสม เช่น ระยะเวลาของการตั้งครรภ์, ความแข็งแรงของคุณแม่, ความรุนแรงของอาการต่าง ๆ โดยแพทย์จะพยายามคอยดูแลคุณแม่และลูกในครรภ์จนกว่าจะถึงระยะเวลาที่สมควร นอกจากนี้หากคุณแม่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์หรือมากกว่า จะสามารถผ่าคลอดหรือทำการเร่งคลอดทารกได้ทันที โดยมีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้อาการครรภ์เป็นพิษรุนแรงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เมื่อคุณแม่คลอดทารกออกมาแล้ว คุณแม่จะเริ่มมีอาการที่ดีขึ้นและหายจากภาวะดังกล่าวได้เอง
ครรภ์เป็นพิษชนิดไม่รุนแรง คุณแม่สามารถกลับบ้านได้ตามปกติ แต่ต้องมาพบแพทย์ตามที่กำหนดไว้ เพื่อคอยตรวจร่างกายและเฝ้าระวังอาการของภาวะดังกล่าว นอกจากนี้คุณแม่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และทานยาตามที่แพทย์กำหนดด้วย
ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง หากอยู่ในภาวะรุนแรง คุณแม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะคอยให้ยาที่จำเป็นต่อคุณแม่ และต้องคอยตรวจร่างกายรวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อีกด้วย
ควรดื่มน้ำขั้นต่ำ 6 แก้ว/วัน
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
สามารถออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงได้ แต่ต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อน
ไม่ทานอาหารที่มีรสเค็ม, โซเดียมและไขมันสูง, อาหารดอง และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
การฝากครรภ์ เพื่อพบแพทย์และตรวจร่างกาย รวมถึงเช็คความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
ครรภ์เป็นพิษ คือภาวะที่อันตรายอย่างมากต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น ทางเราจึงแนะนำให้เข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจและคำแนะนำระหว่างตั้งครรภ์ หรือทำการฝากครรภ์เพื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ตลอดอายุการตั้งครรภ์ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วในการรับมือกับภาวะครรภ์เป็นพิษ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ครรภ์เสี่ยง อันตรายที่คุณแม่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง