ไวรัสอาร์เอสวี
ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ศัตรูอันตรายเมื่อเข้าสู่หน้าฝน

 

ระบบทางเดินหายใจ เป็นระบบที่อาจต้องพบเจอความอันตรายจากเชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเชื้อไวรัสที่เป็นตัวการสำคัญ คือ ไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus, RSV) ไวรัสตัวนี้จะอันตรายมากขึ้น และมีความเสี่ยงสูงกับเด็กเล็ก รวมไปถึงผู้สูงอายุ หากติดเชื้อแล้วจะส่งผลให้มีอาการที่รุนแรงมากกว่าปกติ และยิ่งมีผลกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญอย่างมากด้วย เราจึงไม่ควรมองข้ามไวรัสตัวนี้โดยเด็ดขาด

 

 

ไวรัสอาร์เอสวีติดต่อได้อย่างไร ?

 

 

เด็กเล็ก

 

 

เชื้อไวรัสตัวนี้จะสามารถแพร่กระจายจากผู้ที่ติดเชื้อได้ 3 - 8 วัน ผ่านทางสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือการรับเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายภายในอากาศ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงคือ เด็กเล็ก, เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นได้เหมือนกัน เช่น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน, ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคปอด เป็นต้น

 

 

ระยะฟักตัวของไวรัสอาร์เอสวี

 

ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสจะอยู่ที่ 2 - 8 วัน แต่โดยส่วนมากระยะฟักตัวจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4 - 6 วัน

 

 

หากติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี จะมีอาการอย่างไร ?

 

การติดเชื้อจะปรากฏอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 4 - 6 วัน อาการโดยทั่วไปในผู้ใหญ่ จะมีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดธรรมดา แต่สำหรับเด็กเล็กจะมีอาการเฉพาะที่แตกต่างจากการติดเชื้อของผู้อื่น คือ

 

  • อกบุ๋ม, หายใจเร็ว, แรง และมีเสียงหวีด

 

 

น้ำมูกไหล

 

 

  • ไอแห้ง หรือมีเสมหะ, จาม, น้ำมูกไหล และมีไข้

 

  • รับประทานอาหารได้น้อยลง

 

 

  • อาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น เช่น หอบหืด, หูชั้นกลาง หรือโพรงจมูกอักเสบ เป็นต้น

 

  • ในเด็กทารก อาจพบว่ามีการร้องรบกวน หรือซึมลงได้

 

 

หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 

 

  • มีอาการไข้สูงกว่า 38 องศา เกิน 3 วัน หรือมีไข้ขึ้นลง และน้ำมูกไหลตลอดเวลา

 

 

เด็กร้องไห้ไม่มีน้ำตา

 

 

  • เกิดภาวะขาดน้ำ ให้สังเกตเวลาเด็กร้องไห้ จะไม่มีน้ำตาไหลออกมา 

 

  • ซึม, กระสับกระส่าย, ไม่ยอมรับประทานนม หรือน้ำ 

 

  • ไอจนเด็กมีอาการเหนื่อย, จามบ่อย

 

 

  • ปลายเล็บ หรือนิ้วเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ 

 

  • มีอาการชักเกร็ง, ริมฝีปากเริ่มมีสีเขียวคล้ำ, หน้า และตัวเริ่มเขียว

 

 

การวินิจฉัยไวรัสอาร์เอสวี

 

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นให้ผู้ป่วย จากนั้นจะใช้เครื่องช่วยฟัง เพื่อฟังเสียงการทำงานของปอด, เสียงหวีด และเสียงที่ผิดปกติอื่น ๆ ภายในร่างกาย โดยแพทย์อาจจะใช้วิธีการวินิจฉัยอื่นร่วมด้วย เช่น การเอกซเรย์หน้าอกเพื่อดูโรคปอดบวมหรือการตรวจหาเชื้อไวรัสจากสารคัดหลั่ง เป็นต้น 

 

 

วิธีรักษาไวรัสอาร์เอสวี

 

สามารถรักษาได้ด้วยการเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการดูแลรักษาตามอาการ เนื่องจากตัวยาโดยตรงยังไม่มีการผลิตออกมาอย่างเป็นทางการในประเทศไทย และหากจะกล่าวถึงวัคซีนที่ใช้ป้องกัน ณ ปัจจุบันยังไม่มีเช่นเดียวกัน เราจึงทำได้เพียงลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสนี้เท่านั้น

 

 

การป้องกันไวรัสอาร์เอสวี

 

  • แยกอุปกรณ์ และภาชนะที่ใช้ร่วมกัน

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย

 

 

ล้างมือ

 

 

  • ล้างมือด้วยสบู่กับน้ำสะอาด และรักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ

 

  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ชุมชนหรือแออัด 

 

  • หากผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ควรงดออกจากบ้านจนกว่าจะหายดี เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 

 

การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) อาจไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง ซึ่งมีผลอย่างมากกับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ แต่การรักษาสุขอนามัยที่ดีในชีวิตประจำวัน สามารถช่วยให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสตัวนี้ได้เช่นกัน หากผู้ป่วยพบว่าตนเองเข้าข่าย หรือเสี่ยงติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

เตรียมสุขภาพต้อนรับหน้าฝน