อดนอน
อดนอน ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ

อดนอน (Sleep Deprivation) เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพของผู้คนในปัจจุบัน ทั้งการทำงานตอนกลางวันและกลางคืน เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หรือบางส่วนที่มีความจำเป็นต้องทำงานกะดึก ไม่สามารถพักผ่อนในช่วงค่ำมืดได้ อีกกลุ่มบุคคลมักจะใช้เวลาที่เหมาะสมกับการนอนหลับไปกับการเสพติดโซเชียลมีเดียหรือสื่อบันเทิง กีฬา เกมต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บแล็ต ท่านใดที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการนอนหลับ

 

 

อดนอน 1 วัน   

 

จะมีอาการดังนี้

 

  • ง่วง

 

  • สับสน

 

  • หงุดหงิด

 

  • ความจำสั้นลง

 

  • ไม่มีสมาธิ

 

  • มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด

 

  • สมองจะลดระดับพลังงานให้เข้าสู่สถานะใกล้เคียงในขณะนอนหลับ (Local Sleep) เซลล์ประสาทบางส่วนในสมองหยุดการทำงาน

 

หากอดนอนในระยะเวลามากกว่านี้ถึงขั้น 48-72 ชั่วโมง สมองจะเริ่มหมดสติอยู่ในสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น ร่างกายเริ่มไม่สามารถต้านทานความง่วงได้ การรับรู้ต่อสิ่งรอบข้างมีประสิทธิภาพต่ำมาก อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น

 

 

ไม่มีสมาธิในการทำงาน

 

 

ผลเสียของการอดนอน

 

  • ร่างกายอ่อนเพลีย

 

  • สมองทำงานช้าลง

 

  • ใบหน้าโทรม

 

  • อารมณ์แปรปรวน

 

  • กระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดผิดปกติ

 

  • ระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดไม่มีประสิทธิภาพ

 

เสี่ยงต่อโรคหรือภาวะต่าง ๆ

 

  • ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจ

 

 

  • ระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง

 

  • เจ็บป่วยได้ง่าย

 

  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 

 

 

 

  • โรคทางจิตเวช

 

  • ร่างกายไม่เจริญเติบโต โดยเฉพาะบุคคลในวัยเด็ก

 

 

ความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

 

 

อดนอนเพื่อปรับเวลานอนหลับ

 

บางท่านคิดว่าอดนอนในวันทำงานแล้วค่อยพักผ่อนชดเชยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ นี่เป็นความคิดที่ผิด ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการอดนอนได้ อีกทั้งยังสร้างผลเสียให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากรับประทานอาหารทำงานผิดปกติ จึงรู้สึกหิวมากขึ้น ระบบย่อยอาหารเสียสมดุล ระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ ได้

 

ทั้งนี้ผู้ที่อดนอนเป็นประจำแต่อยากปรับเวลานอนให้ไวขึ้น ควรเริ่มจากการตั้งนาฬิกาปลุกตื่นให้ตรงเวลาเช้า งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สร้างบรรยากาศห้องนอนให้รู้สึกง่วง เช่น ปรับแสงไฟให้เป็นสีเหลืองหรือส้ม และตัดเสียงรบกวนจากเครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสารทุกชนิด เป็นต้น

 

 

อดนอนรับประทานอะไรดี

 

หากมีความจำเป็นที่จะต้องอดนอนจริง ๆ ควรได้รับสารอาหารที่มีวิตามินบี ซี และกรดอะมิโน เพื่อความสดชื่นของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

 

  • น้ำเปล่า

 

  • กล้วย

 

  • ถั่วเปลือกแข็ง

 

  • ไข่

 

  • ธัญพืช

 

  • ข้าวกล้อง

 

  • น้ำผลไม้คั้นสด

 

  • น้ำเต้าหู้ทรงเครื่อง

 

  • นม

 

  • ซุปไก่

 

  • งาดำ

 

  • โยเกิร์ต

 

 

การนอนหลับเป็นเรื่องสำคัญและสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ แต่การดำเนินตามวิถีชีวิตประจำวันทำให้ใครหลายคนมักมองข้าม จนกว่าจะเกิดผลกระทบเจ็บป่วยต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่อดนอนบ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพต้องทำงานเป็นกะตอนกลางคืน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค เพราะสุขภาพของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน แต่การนอนหลับเป็นเรื่องที่ทุกคนควรปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ เพื่อสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ