“เป็นแฟนฉันแค่วันเดียวจะได้อะไรขึ้นมา พรุ่งนี้ฉันก็ลืมหมดแล้ว” ไม่ทราบว่ามีใครจำประโยคนี้ได้หรือไม่ เพราะเป็นประโยคที่มาจากหนังเรื่องแฟนเดย์ อาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นในหนังมีชื่อเรียกว่า อาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว หรือ อาการหลงลืมชั่วคราว (Transient Global Amnesia)
ผู้ป่วยจะยังคงจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตได้ แต่จะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิด ณ ขณะนั้นได้ โดยจะสามารถแยกความรุนแรงของอาการสมองเสื่อมได้ 3 ระดับ ดังนี้
อาการสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย
ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ มีอาการหลงลืม สมาธิไม่อยู่กับเนื้อกับตัว โดยสิ่งที่ผู้ป่วยจำได้เป็นเพียงเรื่องในอดีตที่ยังคงจำได้ดี เริ่มเกิดความบกพร่องในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังคงสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ช่วยเหลือตนเองได้ และระดับการตัดสินใจยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
อาการสมองเสื่อมระดับปานกลาง
ในระดับนี้ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น เกิดความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ การเรียนรู้ หรือการแก้ปัญหา ทั้งที่เคยทำกิจกรรมเหล่านั้นได้มาตลอด และทำได้ดี ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอยู่ในระดับนี้ การให้อยู่ตามลำพังอาจจะอันตราย ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
อาการสมองเสื่อมระดับรุนแรง
ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย สูญเสียความทรงจำอย่างรุนแรง จำบุคคลรอบตัวไม่ได้ หรือแม้กระทั่งตนเอง เกิดความผิดปกติ เช่น เกิดอาการแทรกซ้อน บุคลิกภาพเปลี่ยน เคลื่อนไหวเชื่องช้า ไม่ควรให้อยู่ตามลำพังเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น การได้รับบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ แต่ไม่ถึงขั้นรุนแรง
เกิดจากกิจกรรมบางอย่างที่ทำในชีวิตประจำวัน
ณ ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการการหลงลืมชั่วคราวได้อย่างแน่ชัด แต่จะพบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติการป่วยเป็นไมเกรน จะมีแนวโน้มที่อาจจะเสี่ยงเผชิญกับอาการนี้สูงกว่าบุคคลทั่วไป
สูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน
การตัดสินใจเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม
มีปัญหาเกี่ยวกับความคิดรวบยอด เช่น จากปกติที่เคยคำนวณตัวเลขได้ แต่กลับลืมว่าต้องแก้ปัญหานี้อย่างไร
ขาดความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตประจำวัน ชอบเก็บตัวมากขึ้น
เกิดปัญหาในการสื่อสารกับบุคคลอื่น
การตรวจวินิจฉัยด้วย MRI Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เห็นภาพความเสียหายของสมองได้อย่างละเอียด
การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อฉายภาพภายในสมองในมุมมองต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้สามารถบอกถึงความผิดปกติของโครงสร้างสมองได้
การตรวจเลือด เพราะแพทย์ต้องการแยกโรคและสาเหตุของการทำให้สมองเสื่อม
การตรวจระบบประสาท เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อดูว่าสมองทำงานเป็นปกติดีหรือไม่
ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตนเอง โดยผู้ป่วยต้องแจ้งอาการให้แพทย์ทราบอย่างครบถ้วน เพื่อหาทางแก้ไข
รักษาที่สาเหตุ อย่างเช่น ปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และการรักษาทางจิตวิทยาจากจิตแพทย์
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยหรือปัญหาที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้น
ณ ขณะนี้ยังไม่มีการป้องกันที่ชัดเจน สิ่งที่พอจะทำได้ คือ ควรลดปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการขึ้น และระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง พยายามจัดการกับความเครียดในแต่ละวัน หรืออาจจะเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการตรวจรักษา
อาการหลงลืมชั่วคราว เป็นอาการที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ควรระมัดระวังตนเองเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการนี้ขึ้น ในแต่ละวันควรจัดการกับความเครียดของตนเอง เพราะจะได้ไม่เกิดความเครียดสะสม ท่านใดที่คิดว่าเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับตนเอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษา หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
อัลไซเมอร์กับสมอง เส้นขนานที่ไม่มีทางบรรจบกัน