ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) คือ อวัยวะภายในระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ โดยแพทย์จะเรียกการติดเชื้อที่บริเวณนั้น เช่น กรวยไตหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้ ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยจะมีร่างกายแข็งแรง แบบซับซ้อน ผู้ป่วยมีความผิดปกติของโครงสร้างทางเดินปัสสาวะ

 

 

ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเกิดจากอะไร

 

การติดเชื้อแบคทีเรีย

 

เชื้อที่กล่าวมาจะอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ตามธรรมชาติ เคลื่อนตัวออกมาสู่บริเวณรูทวารแล้วไปตามทางท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไตจนเกิดการติดเชื้อในที่สุด แต่ปกติแล้วร่างกายมีกลไกการป้องกันโดยการไหลของน้ำปัสสาวะที่มีปริมาณพอดีอย่างสม่ำเสมอ นอกเสียจากมีความผิดปกติต่อการขับปัสสาวะ ได้แก่

 

 

  • มีนิ่วหรือเนื้องอกในไต

 

  • โครงสร้างอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

  • สุภาพสตรี เพราะมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าผู้ชาย

 

  • ผู้ป่วยที่ทำการใส่สายสวนปัสสาวะหรือภูมิคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพ

 

 

อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

 

ความผิดปกติขณะขับถ่ายปัสสาวะ

 

  • เช่น แสบ ขัด

 

  • รู้สึกไม่สุด

 

  • มีกลิ่นไม่พึงประสงค์

 

  • มีสีขุ่นหรือโลหิตปนออกมา

 

อาการอื่น ๆ

 

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ปวดหลังบริเวณด้านข้าง

 

  • เป็นไข้

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • ความดันโลหิตต่ำ

 

 

ปัสสาวะแสบขัด

 

 

การวินิจฉัยติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

 

  • นำตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อหาว่ามีเม็ดเลือดแดงหรือขาวออกมาด้วยหรือไม่ หากมีแพทย์จะวินิจฉัยผู้ป่วยติดเชื้อ

 

  • เพาะเชื้อเพื่อหาชนิดของแบคทีเรีย โดยในขั้นตอนการเก็บตัวอย่างนี้ ผู้ป่วยควรล้างมือและอวัยวะเพศให้สะอาด เพื่อไม่ให้ปัสสาวะปนเปื้อนเชื้อที่บริเวณผิวหนัง

 

 

การรักษาติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

 

ใช้ยาปฏิชีวนะ

 

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว ควรรับประทานยานี้ 3-5 วัน

 

  • ผู้ที่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์หรือเป็นโรคเบาหวาน จะได้รับยานี้ผ่านทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

 

  • หากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อซ้ำบ่อยครั้ง จะรับประทานยาปฏิชีวนะในขนาดต่ำ

 

  • ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด แม้ว่าอาการจะบรรเทาลงก็ไม่สามารถหยุดยาเองได้

 

 

รับประทานยาปฏิชีวนะ

 

 

การป้องกันติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

 

  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

 

  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะ

 

  • ขณะขับถ่ายควรทำความสะอาดจากด้านหน้าก่อนบริเวณทวารหนัก

 

  • ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองอวัยวะเพศ

 

  • เลือกชุดชั้นในที่มีขนาดพอดี ระบายอากาศได้ ไม่อับชื้นจนเกินไป

 

  • รักษาสุขอนามัยทางเพศ

 

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรควบคุมปริมาณระดับน้ำตาลในโลหิตให้เป็นปกติ

 

ผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและในเวลาทันท่วงที เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง รุกรามเข้าสู่กระแสโลหิต เกิดภาวะช็อกเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นหากมีอาการขณะปัสสาวะผิดปกติ รวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งไม่ใช่แค่สุภาพสตรีเพียงอย่างเดียว ผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมาก หรือหนังหุ้มปลายตีบตัน อักเสบ มีความเสี่ยงติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นควรทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด

 

 

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะ Staple Circumcision

 

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุที่มาจากพฤติกรรม