โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เรื่องใกล้ตัวของผู้รักสัตว์

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) คือ โรคติดต่อตามธรรมชาติระหว่างมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะในปัจจุบันนิยมนำสัตว์เลี้ยงมาไว้ในครอบครองกันมากขึ้นทั้งสุนัข แมว กระต่าย นก หนู  และสัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งผู้ที่ทำงานในแวดวงปศุสัตว์ เกษตรกรรมมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อทั้งไวรัส แบคทีเรีย รา รวมทั้งปรสิตของสัตว์

 

 

สาเหตุโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

 

  • การสัมผัสสัตว์ที่ป่วย

 

  • หายใจสูดดมเชื้อหรือ spore เข้าไป

 

  • นำเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วมารับประทานเป็นอาหาร

 

  • ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน

 

  • แมลงที่มีพาหะเข้าสู่ร่างกาย ทั้งถูกกัดหรือต่อย

 

 

สูดดมเชื้อจากสุนัข

 

 

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนมีอะไรบ้าง

 

ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย

 

  • ซึ่งได้รับเชื้อ campylobacter และ salmonella จากการสัมผัสมูลของสุนัขและแมว ทำให้มีอาการปวดท้อง ไข้ขึ้น ขับถ่ายออกมาเป็นของเหลว สามารถรักษาด้วยการดื่มเกลือแร่ แต่ถ้าเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเด็กเล็ก มีความเสี่ยงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

 

Toxoplasmosis

 

  • เชื้อนี้มักจะอยู่ในมูลของแมว สามารถปนเปื้อนผ่านทางดินที่ปลูกผักหรือผลไม้แล้วนำไปรับประทานได้ อาการรุนแรงมักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำปอดอักเสบ ที่สำคัญคือมีการติดเชื้อในสมองทำให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงของได้ หรือสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไป ส่งผลกระทบต่อทารกได้ ทั้งการแท้งหรือคลอดออกมาแล้วเด็กพิการ

 

Psittacosis

 

  • เป็นแบคทีเรียในกลุ่ม คลามัยเดีย จากขนและมูลของสัตว์ปีกโดยเฉพาะนก ผู้ที่สูดดมเชื้อนี้เข้าไปจะมีอาการ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย ไอแห้ง เจ็บหน้าอก และปอดอาจอักเสบ

 

ติดเชื้อพยาธิ

 

  • ไข่พยาธิจะปนเปื้อนมากับมูลของสุนัขและแมว หากไปสัมผัสหรือปนเปื้อนกับอาหารที่รับประทานเข้าไป พยาธิมันจะไชไปตามอวัยวะของร่างกาย หากเข้าสู่ดวงตา อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นได้ หรือความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

 

ติดเชื้อรา

 

  • การสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อราบนผิวหนังและขนของสัตว์ จะทำให้เป็นโรคกลาก จะรู้สึกคัน และผิวหนังเปลี่ยนไปเป็นลักษณะวงกลมสีแดง

 

 

กลาก

 

 

การป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย

 

  • ทำลายซากสัตว์ที่ตายแล้ว เพราะติดเชื้อโรค

 

  • กำจัดพาหะของโรค

 

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

 

  • ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์และผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับเชื้อจากสัตว์

 

  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์  เช่น  นม เนื้อสัตว์

 

  • มีการระบาดของโรคต้องรีบรายงานเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์หรือสาธารณสุขรับทราบ

 

 

ฉีดวัคซีนสุนัข

 

 

ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไรไม่ให้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

 

ความพร้อมของผู้เลี้ยง

 

  • ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของตนเอง รวมทั้งหาวิธีการป้องกันผลกระทบทางร่างกายที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่น โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ประเภทขน

 

ศึกษาข้อมูลประเภทของสัตว์ที่จะเลี้ยง

 

  • คิดวิเคราะห์ว่าตนเองจะเลี้ยงสัตว์เพื่ออะไร หาข้อมูลว่าสัตว์ชนิดนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง รวมทั้งพฤติกรรม ลักษณะนิสัย ก่อนตัดสินใจรับมาดูแล

 

อายุของสัตว์

 

  • เมื่อได้รับสัตว์เลี้ยงมาในตอนที่มันอายุยังน้อย ควรดูแลเอาใจใส่อย่างมาก ทั้งเรื่องของสุขภาพ อาหาร และความสะอาด แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่โตแล้ว อาจจะปรับตัวให้เข้ากับผู้เลี้ยงได้ยาก

 

งบประมาณ

 

  • ควรคำนวณรายได้ว่าเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของสัตว์เลี้ยง ทั้งค่าอาหาร ยารักษาโรค และวัคซีนหรือไม่ เพราะถ้าหากมีปัญหาแล้วไปทอดทิ้งมัน สุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นภาระของสังคมตามมา ดังนั้นควรศึกษาให้ดีและรับมือให้ดี

 

 

นอกจากโรคที่ควรต้องระวังแล้ว ยังมีเรื่องของอุบัติเหตุที่ควรต้องระวังอีก เพราะอาจถูกสัตว์เลี้ยงของท่านทำร้าย เช่น กัด ข่วน กลายเป็นแผลส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่น ๆ ที่รุนแรงได้ ดังนั้นผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครองควรดูแลอย่างดี หากสังเกตหาความผิดปกติบนผิวหนัง ขน เสียงร้อง จะต้องไม่ละเลยนำไปพบสัตวแพทย์ทันที

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคอันตรายในหน้าร้อน

 

 

เชื้อราแมว สาเหตุที่ทำให้ทาสแมวเป็นโรคผิวหนัง

 

 

ทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์เลี้ยงกัด