Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
สูตินรีเวช
ดูประวัติแพทย์
พญ.วารินทร์ เวสารัชวิทย์
ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ศูนย์ศัลยกรรมและการผ่าตัด
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
สัตว์เนื้อแดง บริโภคมากเกินไปเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่จริงหรือ
เนื้อแดง (Red Meat) คือ เนื้อสัตว์สีแดงเข้มสดที่ขายกันอยู่ในตามท้องตลาด เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร มักจะมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลี้ยงไว้ในฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็น หมู วัว แพะ แกะ หรือการนำมาแปรรูปสำหรับถนอมอาหารเป็นไส้กรอก เบคอน แฮม แหนม กุนเชียง ลูกชิ้น แต่มีคำถามค้างคาใจกันว่า หากรับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไปในอนาคตจะป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้หรือไม่ แล้วควรงดเลยหรือเปล่า บทความนี้จะอธิบายคลายข้อสงสัยกัน     สารอาหารในสัตว์เนื้อแดง   โปรตีน   มีคุณค่าทางโภชนาการมาก สร้างความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย และความแข็งแรงของกระดูกกับกล้ามเนื้อ   วิตามินบี 3, 6, 12   ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน   ธาตุเหล็ก   สร้างเซลล์เม็ดเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์   สังกะสี   สร้างระบบดีเอ็นเอ ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ         เนื้อแดงกับโรคมะเร็ง   อาหารที่ทำมาจากสัตว์เนื้อแดงผ่านกรรมวิธีใช้ความร้อนสูงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปิ้ง ย่าง ทอด ต้ม ลวก หากรับประทานมากเกินไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทั้งสิ้น จากสารเหล่านี้ ได้แก่   โพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH)   เฮเทอโรไซคลิกอโรมาติกเอมีน (HAA)   ในส่วนของสัตว์เนื้อแดงที่นำมาแปรรูป จะมีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยาอื่น ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น การอักเสบของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้         การบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อป้องกันมะเร็ง   ไม่ควรงดเนื้อสัตว์ แต่จำกัดปริมาณให้เหมาะสม ดังนี้   รับประทานเนื้อแดงไม่เกินสัปดาห์ละ 500 กรัม   บริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปไม่เกินวันละ 50 กรัม   เลือกรับโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ   สัตว์เนื้อขาว เช่น ปลา กุ้ง หมึก ไก่   ไข่ไก่   เต้าหู้   ถั่ว หรือธัญพืชต่าง  ๆ         การบริโภคเนื้อสัตว์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง   ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงรับการรักษา จากวิธีฉายแสงหรือเคมีบำบัด จะต้องรับโปรตีนมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานลดลง เจ็บป่วยได้ ดังนั้นควรเลือกอาหารประเภทโปรตีน ดังนี้   รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ   เลือกอาหารจากกรรมวิธี ต้ม นึ่ง ยำ หลีกเลี่ยงการทอด ปิ้ง ย่าง   รับโปรตีนหลากหลายจากถั่วเหลือง ปลา ไข่   บริโภคผัก ผลไม้ พืชสมุนไพรตามคำแนะนำของแพทย์     ทั้งสัตว์เนื้อแดงหรือแปรรูปถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งเดียวกันกับบุหรี่ แอลกอฮอล์ แร่ใยหิน สารหนู โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แม้ว่าจะไม่อันตรายเท่ากันก็ตาม ทั้งนี้สาเหตุของมะเร็งมีมากมาย ในเรื่องของกรรมพันธุ์ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เครียด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หาเวลาว่างมาตรวจสุขภาพ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล       เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง     ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและตับ     โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
อ่านเพิ่มเติม
อาหารติดคอ อุบัติเหตุจากการกลืนผิดปกติ
อาหารติดคอ คือ อุบัติเหตุขณะรับประทานอาหาร โดยการกลืนตามปกติแล้ว จะผ่านโคนลิ้นเข้าไปในคอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร กล่องเสียงจะยกขึ้นมาชิดกับฝาปิดร่วมกับการกลั้นหายใจ เพื่อไม่ให้เศษอาหารติดอยู่ในหลอดลม เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าสู่ทางเดินอากาศหายใจขณะอาหารอยู่ในช่องปากจึงเกิดการสำลัก ฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดพร้อมกับการหายใจเข้าอย่างแรง สิ่งที่เราเคี้ยวเข้าไปจึงติดอยู่บริเวณอวัยวะทางเดินอาหารหรือช่วงทรวงอก     สาเหตุที่ทำให้อาหารติดคอ   ประมาท   เช่น การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด, รีบรับประทานจนเกินไป, ไม่ระมัดระวังกระดูกจากเนื้อสัตว์หรือเมล็ดผลไม้   เด็กเล็ก   วัยนี้จะหยิบจับอะไรก็มักจะนำเข้าปาก บางอย่างไม่ใช่ของที่รับประทานจึงทำให้ติดคอได้ รวมทั้งฟันกรามยังไม่แข็งแรงที่จะสามารถเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่   อุบัติเหตุ   โดยเฉพาะผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือเพิ่งได้รับการรักษาทางทันตกรรมและช่องปาก   โรคหรือภาวะความผิดปกติ   หลอดอาหารเป็นอัมพาต   โรคประสาทที่ส่งผลต่อการกลืน   ผู้ป่วยทางจิตเวช         อาการเมื่ออาหารติดคอ   ทางเดินอาหาร   เจ็บคอขณะพูดหรือกลืน รวมทั้งหน้าอก   น้ำลายไหล   อาเจียน   กล่องเสียง   ไอ   เสียงแหบ   หายใจเสียงดัง   หอบ   ตัวเขียว   ดิ้นทุรนทุราย   หลอดลม   หายใจลำบาก   มีเสมหะปนโลหิตหรือหนอง   เกิดความผิดปกติแทรกซ้อน โดยเฉพาะปอดและทางเดินหายใจ         การวินิจฉัยอาหารติดคอ   ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติ ถามอาการเจ็บปวดที่ตรงบริเวณใด อาหารที่รับประทานครั้งล่าสุดคืออะไร หลังจากนั้นก็ตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยการดูคอ หากมีเศษอาหารติดค้างอยู่ที่บริเวณโคนลิ้น ต่อมทอนซิล แพทย์จะใช้เครื่องมือคีบออกมา หากไม่พบจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีนำมาหาความผิดปกติที่หน้าอก หรือช่องท้อง ได้แก่   การเอกซเรย์   เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)   สอดกล่องส่องเข้าไปในปาก         อาหารติดคอปฐมพยาบาลอย่างไร   วัยผู้เด็กโตหรือผู้ใหญ่   ยืนอยู่ด้านหลังผู้ป่วย   โอบรอบใต้รักแร้ มือข้างหนึ่งกำแล้วหันกำปั้นด้านนิ้วหัวแม่มือเข้าไปที่หน้าท้องผู้ป่วย แล้ววางไว้เหนือสะดือแต่สูงต่ำกว่าลิ้นปี่ มืออีกข้างโอบกำปั้นไว้   รัดกระตุกที่หน้าท้องเข้าพร้อมกัน แรง ๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออก หรือผู้ป่วยสามารถพูด ร้องออกมาได้   โทรแจ้งเจ้าหน้าที่นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที   ผู้ป่วยหมดสติ   จัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงาย ทำ CPR   กดหน้าอกนวดหัวใจ ช่วยหายใจโดยการเปิดปากนำสิ่งแปลกปลอมออกมา   เด็กเล็ก   จัดท่าทางของน้องให้นอนคว่ำหน้าพาดท่อนแขนไว้   ประคองศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว   ใช้ฝ่ามือกระแทกบริเวณสะบักด้านหลัง   สลับกับการนอนหงาย 5 ครั้ง ติดต่อกันอย่างรวดเร็ว   หากเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากให้ล้วงออก   หากทำแล้ว 3 ครั้ง อาการยังไม่ดีขึ้น รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน         การป้องกันอาหารติดคอ   สำหรับผู้ใหญ่ควรระมัดระวังขณะรับประทานอาหารโดยการ   นั่งตัวตรง อิ่มเสร็จแล้วห้ามนอนทันที ควรนั่งพักหรือเดินย่อยสัก 15 – 20 นาที   แบ่งอาหารเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   เคี้ยวให้ละเอียด อย่างช้า ๆ   หากเหนื่อยหรือรีบเร่งควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหาร รวมทั้งการพูดคุยหรือเดิน   รับประทานอาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว เพื่อให้กลืนอาหารง่ายไม่ฝืดคอ   อาหารที่แข็งหรือแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้นุ่มขึ้น   เด็กเล็ก   สั่งสอนห้ามนำสิ่งของเข้าปาก   แสดงท่าทางขณะรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะให้เป็นตัวอย่าง ไม่โยนอาหารเข้าปากให้เห็น   ระมัดระวังเศษกระดูก ก้างปลา เมล็ดผลไม้ ก่อนรับประทานอาหาร   เลือกเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับความแข็งแรงของฟัน     อาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เกิดการระคายเคือง เป็นแผลบริเวณหลอดอาหาร สามารถร้ายแรงถึงขั้นขาดอากาศหายใจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา และเสียชีวิตลงในที่สุด หากอุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นขณะรับประทานอาหารได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างปลอดภัยแล้ว ก็ควรที่จะมาตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้       เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง     คลินิกหูคอจมูก     ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
อ่านเพิ่มเติม
44
ปี ที่ดูแล
256
องค์กรที่เราดูแล
901
ผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
452
ผ่าตัดส่องกล้อง : เดือน