เวชศาสตร์ฟื้นฟู
เวชศาสตร์ฟื้นฟู
 

เวชศาสตร์ฟื้นฟูคืออะไร

 

คือแผนกที่คอยดูแลและให้การรักษาด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้ร่างกายกลับมามีประสิทธิภาพเหมือนเดิมอีกครั้ง กล่าวถึงการเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกตินั้นคงเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา แต่โรคที่ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวร่างกายเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบทั้งการที่อวัยวะเสื่อมสภาพไปด้วยโรคร้าย เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาท และโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือการมีปัญหาร่างกายมาตั้งแต่เกิด ส่งผลให้การใช้ชีวิตลำบากขึ้นและอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ โดยทาง เวชศาสตร์ฟื้นฟู ของเราพร้อมให้การรักษาอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ และไม่ใช่เพียงแค่การรักษาเท่านั้น แต่ยังทำการประเมิน และให้คำแนะนำป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

>>>>รายละเอียดเพิ่มเติม


____________________________________

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.00-17.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 16.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ :
1390


Line Official :   @petcharavej  คลิก  

ฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพบำบัด

เมื่อผู้ป่วยได้รับอันตรายจากโรคร้ายต่าง ๆ และผ่านการรักษามาแล้วในบางครั้งอาจจะเหลือผลกระทบจากโรคดังกล่าว เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หรือผู้ที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อมาแต่กำเนิดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง 

 

บริการทางการแพทย์

 

  • รักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง

  • รักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับประสาท

  • รักษาอาการปวดไหล่ ปวดคอ ปวดเข่า ปวดหลัง

  • รักษาอัมพาตครึ่งซีก

  • เปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • โรคอัมพาตบนใบหน้า

 

การทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น

 

  • ประคบร้อน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวด บวม จากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น ข้อเท้าพลิก หกล้ม ฯลฯ
  • ยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ
  • ปรับท่าทางในการทำงาน หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อรับการรักษาต่อไป

 

ข้อควรระวังในการฝึกปฏิบัติ

 

  • ผู้ป่วยควรทำท่าบริหารต่าง ๆ อย่างช้า ๆ ไม่ควรทำเร็ว

  • ควรระวังไม่ให้ขยับเกินขีดจำกัดของร่างกายแต่ก็ควรขยับไปให้สุดองศาของอวัยวะนั้น ๆ 

  • ทำท่าบริหารให้ได้ 10-20 ครั้ง/วัน

  • ผู้ป่วยควรพยายามเคลื่อนไหวด้วยตนเองแต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคนรอบข้าง

  • ไม่ควรทำหลังทานอาหารใหม่ ๆ 

  • หากพบปัญหาระหว่างการบำบัดควรหยุดทันทีและเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย

  • ควรนั่งหรือเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ ไม่ควรนอนอย่างเดียวเป็นเวลานาน

 

การฝึกกล้ามเนื้อที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

 

  • นอนกับพื้นแล้วกอดเข่าดันเข้ามาให้ชิดอก : ลดอาการปวดหลัง
  • นอนกับพื้นชันเข่าทั้ง 2 ขึ้นเเล้วหมุนสะโพกไปทางซ้ายสลับขวา 8-10 ครั้ง : บริหารเอว
  • นอนกับพื้นชันเข่าทั้ง 2 ขึ้นเเล้วยกก้น 8-10 ครั้ง : บริหารสะโพกและหลัง
  • นอนกับพื้นเหยียดขา 1 ข้างและยกขึ้นลง 8-10 ครั้ง : บริหารต้นขา
  • นอนกับพื้นชันเข่าทั้ง 2 ข้าง ขนานกับลำตัวแล้วดึงสะดือลง (กดหลังติดเตียง) เกร็งช่วงบริหารหน้าท้องค้างไว้ นับ 10 วินาที แล้วผ่อนคลาย : บริหารกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
  • นั่งเหยียดเข่า 1 ข้าง อีกข้างนึงงอเข้าหาลำตัว และก้มเอามือแตะปลายเท้าข้างที่เหยียดค้างไว้ 10 วินาที : บริหารช่วงขา
  • นั่งบนเก้าอี้และสลับเหยียดเข่า 8-10 ครั้ง : บริหารหัวเข่า
  • นอนกับพื้นยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นพร้อมหายใจเข้าและเอาแขนลงพร้อมหายใจออก : บริหารปอด
  • ยืนตรงยกมือขึ้นพร้อมหายใจเข้า และหายใจออกพร้อมเอามือลง 8-10 ครั้ง : ช่วยบริหารปอด
  • ทำการขีดเส้นและเดินตามเส้นตรงนั้นประมาณ 5 เมตร สูงสุด 10 รอบ : ช่วยเรื่องการทรงตัว
  • ยืนกางขาให้ได้องศาเท่ากับหัวไหล่ 20 วินาที : ช่วยเรื่องการทรงตัว

 

กายภาพบำบัด (Physical Therapy) เป็นหนึ่งในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่ช่วยรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกาย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด โดยกายภาพบำบัดจะช่วยในเรื่องของลดอาการปวด ฟื้นฟูกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย ร่วมกับการปรับพฤติกรรมปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากการทำงาน หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดในการรักษาร่วมด้วย

 

บริการทางกายภาพบำบัด

 

  • ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การทำงานหรือการเล่นกีฬา รวมทั้งการฟื้นฟูในผู้ป่วยหลังจากผ่าตัด เช่น เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดใส่เหล็ก ฯลฯ

 

  • ระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน การบาดเจ็บของไขสันหลังและเส้นประสาท โดยจะฝึกในเรื่องของการฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองหรือมีอุปกรณ์ช่วยพยุง

 

  • ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด เช่น ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด โดยจะสอนวิธีฝึกหายใจที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ รวมถึงการเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะและฝึกไอ

 

  • ผู้ป่วยอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ผ่าตัดอวัยวะหน้าท้อง รวมทั้งมดลูก เป็นต้น

 

การยืดและบริหารกล้ามเนื้อที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

 

ท่ายืดคอ ขา

 

  • เอียงคอไปทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอ บ่า ฝั่งตรงข้ามค้างไว้ 10 วินาที แล้วผ่อนคลาย สลับไปทำด้านขวา

 

  • เอามือประสานกันไว้ที่ท้ายทอย ใช้มือดันศีรษะจนรู้สึกตึง

 

ท่ายืดสะบัก

 

  • ยกแขนขวาไขว้ไปทางด้านหน้า ใช้แขนซ้ายดันแขนขวาเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที แล้วผ่อนคลายสลับไปทางด้านซ้าย

 

ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน

 

  • เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งให้ตรง ใช้มือฝั่งตรงข้ามดันข้อมือลงจนรู้สึกตึง

 

ท่ายืดหลัง

 

  • นอนหงายชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง จากนั้นใช้มือทั้งสองดันเข้าหาลำตัวให้ชิดอกค้างไว้ 10 วินาที

 

  • นอนหงายชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง หมุนสะโพกไปทางซ้ายสลับขวาช้า ๆ

 

ท่ายืดขา

 

  • นั่งตัวตรงยืดขาไปข้างหน้าทั้ง 2 ข้างจากนั้นใช้มือทั้งสองโน้มไปแตะที่ปลายเท้า โดยห้ามงอเข่าขึ้น

 

ท่าบริหารคอ

 

  • นั่งหลังตรง ดันคอไปทางด้านหลัง (เก็บคาง) ไม่ก้มหรือเงยคอ เกร็งค้างไว้ 10 วินาที

 

  • วางมือไว้บนหน้าผาก ออกแรงต้านสู้กับแรงพยายาดันศีรษะมาข้างหน้า

 

ท่าบริหารหลัง

 

  • นอนหงายชันเข่า 2 ข้างขนานลำตัว กดหลังติดเตียง (ดึงสะดือลง) เกร็งช่วงหน้าท้องค้างไว้ 10 วินาทีแล้วผ่อนคลาย

 

ท่าบริหารไหล่

 

  • ยืนตรงแขนเหยียดเอามือแตะฝาผนังค่อย ๆ เพิ่มความสูงของมือ โดยไต่ผนังไปให้จนสุดช่วงเท่าที่ทำได้ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วค่อยไต่ผนังลงมา