โรคภัยต่าง ๆ อาจไม่ปรากฏให้เราเห็นผ่านสายตา บางโรคอาจเป็นภัยเงียบที่หลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราไม่แสดงอาการ หรือการที่เรามีอาการเจ็บปวดในร่างกาย ถ้าหากเราต้องการตรวจอาการเหล่านั้น "เอกซเรย์" เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยเราได้ ดังนั้นเราควรรู้ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ รวมไปถึงข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการ
เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคหรือข้อบกพร่องในร่างกาย ด้วยรังสี x โดยภาพที่ได้จากการใช้รังสีชนิดนี้จะเป็นภาพสีขาว - ดำ ที่มีความเข้มของสีแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการดูดซับของรังสี คือทำให้เห็นภาพกระดูกเป็นสีขาว ในขณะที่ไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ จะดูดซับได้น้อยจึงทำให้เห็นเป็นเพียงสีเทา ส่วนอากาศจะดูดซับได้น้อยที่สุด จึงทำให้เมื่อเอกซเรย์ปอดออกมาแล้วเป็นสีดำ จากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยผลที่ได้ในเวลาต่อมา
วิธีนี้เป็นหนึ่งในขั้นตอนการวินิจฉัยความผิดปกติภายในร่างกายโดยแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจสอบอาการของคนไข้ได้หลายประการ เช่น
ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม หากผู้ป่วยได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกายหรือการกลืนวัตถุต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย
ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งกระดูก เป็นต้น
มะเร็งเต้านม โดยการตรวจหาความความผิดปกติบริเวณเนื้อของเต้านม
การอุดตันของหลอดเลือด ด้วยการฉีดสารที่ผสมไอโอดีนเข้าไปเพื่อให้เกิดการเรืองแสงในระบบหลอดเลือด ทำให้เห็นระบบหลอดเลือดว่ามีการอุดตันหรือไม่
ตรวจหาปัญหาสุขภาพปอด เช่น มะเร็งปอด น้ำท่วมปอด เป็นต้น
การตรวจเอกซเรย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
กระดูก เพื่อตรวจดูความผิดปกติของกระดูกตามส่วนต่าง ๆ เช่น ฟัน แขน ขา เป็นต้น
ทรวงอก การตรวจตรงจุดนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจปอด หัวใจ การตรวจแมมโมเเกรมเพื่อหามะเร็งเต้านม
ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและหาสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
โดยปกติแล้วสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจบางรายจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการตรวจ ควรงดการทานอาหารและยา และไม่ควรนำเครื่องประดับหรือโลหะติดตัวเข้าไป นอกจากนี้หากผู้ตรวจกำลังตั้งครรภ์ควรรีบบอกแพทย์ทันทีเพื่อเลื่อนการตรวจออกไปก่อน
ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่โรงพยาบาลกำหนดไว้ เมื่อเข้าสู่การเอกซเรย์ให้จัดท่าทางของร่างกายตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้ผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจจำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วยในการตรวจด้วย หลังจากที่เครื่องทำการเอกซเรย์เสร็จสิ้น แพทย์จะนำผลที่ได้ไปวินิจฉัยต่อไป
ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับบ้านหรือรอฟังผลได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการตรวจนั้นไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลกระทบ เพราะสารที่ใช้มีปริมาณรังสีที่น้อยมาก อย่างไรก็ตามอาจมีผลกระทบเกิดขึ้นกับร่างกายได้ เช่น ตาพร่ามัว อุจจาระมีสีซีด หรือมีผื่นขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้หากพบอาการผิดปกติสามารถเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ได้
การเอกซเรย์เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีในการตรวจหาความผิดปกติภายในร่างกาย หากเราสามารถพบเจอโรคร้ายได้ก่อนที่อาการของโรคนั้นจะรุนแรง เราก็สามารถรับคำแนะนำจากแพทย์ในการรักษาตามขั้นตอนต่อไป
____________________________________
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.00-17.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 16.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390
Line Official : @petcharavej คลิก
____________________________________
แพคเกจที่เกี่ยวข้อง