ความพร้อม = โอกาส
ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเทคโนโลยีมาตรฐาน
ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกเป็นการรักษาโรคที่เกี่ยวกับหัวใจที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยโรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ และทรวงอก โดยมีการผ่าตัด ดังนี้
ลิ้นหัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปิด และเปิดให้เลือดผ่านเข้าออก หรือควบคุมทิศทางการสูบฉีดของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากลิ้นหัวใจเกิดการตีบ และรั่วจะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ โดยการรักษาจะทำได้หลายประการ ดังนี้
ผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน และล่าง จะทำในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น โดยจะผ่าตัดเพื่อเบาเทาอาการในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายรุนแรง และจะมีการผ่าตัดซ่อมแซมอย่างถาวร
ผ่าตัดปิดเส้นเลือด
ผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด
ผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง แพทย์จะใช้หลอดเลือดเทียมเข้าไปทดแทนหลอดเลือดที่โป่งพอง
ผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง แพทย์จะใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวดเข้าไปแทนที่หลอดเลือดที่โป่งพองในช่องท้องผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
ผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก
ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลเพชรเวช
วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 07.00-17.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 16.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ : 1390
ดูแผนที่โรงพยาบาล : GOOGLE MAPS
__________________________________
แพคเกจที่เกี่ยวข้อง
เป็นวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ และอาจทำให้หัวใจขาดเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก บริเวณราวนมกับลิ้นปี่ และอาจมีอาการลามไปที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น คอ กราม และแขน เป็นต้น โดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีการใส่อุปกรณ์พิเศษ คือ บอลลูน (Balloon) และขดลวด (stent) เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนได้มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 1 : ใช้สายสวนสอดไปยังตำแหน่งที่มีหลอดเลือดตีบ
ขั้นตอนที่ 2 : บอลลูนจะถูกขยายให้พองตัวแนบไปกับผนังหลอดเลือดและกดทับส่วนที่ตีบ
ขั้นตอนที่ 3 : บอลลูนจะทำให้แฟบลง แล้วนำออกไปจากหลอดเลือดหัวใจ โดยบริเวณด้านในของหลอดเลือดจะมีความกว้างขึ้นทำให้การไหลของเลือดดีขึ้นด้วย
ขดลวดที่ใช้จะเป็นขดลวดชนิดเคลือบยา (Drug Eluting Stent) โดยตัวยาจะค่อย ๆ ถูกปลดปล่อยไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา วิธีนี้จะช่วยลดความจำเป็นในการรักษาซ้ำจากการที่หลอดเลือดหัวใจได้รับการฝังขดลวดเกิดการตีบเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีวิธีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ใส่สายสวนชนิดขดลวดเข้าไปยังหลอดเลือดที่ตีบและขยายบอลลูนให้พองตัวขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 : ขดลวดขยายตัวกดทับผนังหลอดเลือด นำบอลลูนที่ถูกทำให้แฟบลงออกจากหลอดเลือด
ขั้นตอนที่ 3 : ขดลวดจะยังคงอยู่ถาวร เพื่อขยายหลอดเลือดให้ยังคงเปิดกว้าง และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้บอลลูนและการใส่ขดลวด เป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านได้ไวขึ้น ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษาว่าจะพิจารณาให้ผู้ป่วยทำการรักษาด้วยวิธีใด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
โรคหัวใจเป็นโรคที่มีความอันตรายสูง อีกทั้งยังมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่สำหรับชนิดที่รุนแรง และเสี่ยงเสียชีวิตสูงได้แก่ โรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่เราต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้น
เกิดได้จากระบบไฟฟ้าของหัวใจที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดูแลตนเอง และโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ นอกจากนี้หัวใจของผู้ป่วยจะมีการสูบฉีดเลือดที่เปลี่ยนไป และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนอาการที่แสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดนั้นมีน้อยมาก โดยส่วนมากผู้ป่วยที่รู้ตัวมักรู้ได้จากการตรวจสุขภาพหัวใจ แต่ยังมีอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจสังเกตได้ว่ามีความเสี่ยง ได้แก่
วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
หายใจไม่อิ่ม
เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
รู้สึกใจสั่น
เกิดจากหลายสาเหตุทั้งอายุที่มากขึ้น จากไข้รูมาติก ที่ส่งผลต่อการทำงานของลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนัก เลือดไม่ไหลเวียน และมีโอกาสเสียชีวิตสูง อาการของผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่วที่เห็นได้ทั่วไป เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น นอกจากนี้อาการของผู้ป่วยจะแสดงออกแตกต่างกันตามจุดที่ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายได้เช่นกัน ได้แก่
ลิ้นหัวใจด้านซ้าย อาการเหนื่อยจะมากขึ้นกว่าปกติ และอาการจะยังคงอยู่แม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมใดเลย
ลิ้นหัวใจด้านขวา ผู้ป่วยจะท้องอืด แขนขา และหัวใจบวม อวัยวะฝั่งขวาจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง
เกิดจากหัวใจที่ทำงานผิดปกติไม่สามารถฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หรือเกิดปัญหากับการรับเลือด หากปล่อยไว้ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคนี้มักเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการทานอาหาร และการไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุต้น ๆ ของหัวใจล้มเหลว อาการที่บ่งบอกว่าเสี่ยงหัวใจล้มเหลว ได้แก่
วิงเวียนศีรษะ
เท้าและขาบวม
หายใจลำบาก
เหนื่อยล้า
โรคหัวใจที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจเท่านั้น ด้วยความที่โรคหัวใจมีสาเหตุการเกิดที่หลากหลาย รวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นเราจึงควรดูแลตนเองควบคู่กับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำเพื่อหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ