วิสัญญี
วิสัญญีและห้องผ่าตัด
 

วิสัญญีหรือแพทย์ประจำห้องผ่าตัด มีหน้าที่สำคัญกับการผ่าตัดเป็นอย่างมาก โดยหน้าที่ของแพทย์แผนกดังกล่าวไม่ได้มีแค่ให้ยาสลบกับคนไข้เท่านั้น พวกเขายังมีความสำคัญต่อคนไข้ที่ต้องรับการผ่าตัด ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการผ่าตัดไปจนกว่าคนไข้จะฟื้นจากการผ่าตัดอย่างปลอดภัย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับแผนกนี้ในโรงพยาบาลเพชรเวชกันว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง และมีวิธีดูแลคนไข้อย่างไร

 

วิสัญญีคืออะไร 

 

แพทย์สายนี้มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่เกี่ยวกับการผ่าตัดที่เรียกว่าแพทย์ประจำห้องผ่าตัดนั่นเอง โดยมีหน้าที่หลัก คือ การช่วยระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด และช่วยลดความกังวลของผู้ป่วย โดยแพทย์แขนงนี้จะดูแลผู้ป่วยเริ่มตั้งแต่เตรียมความพร้อมก่อนผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด คอยสังเกต ติดตาม รายงานผลผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด รวมไปถึงดูแลผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นหลังจากการผ่าตัดอย่างปลอดภัย

 

การระงับความเจ็บปวดฉบับวิสัญญี

 

ในอดีตการระงับความเจ็บปวดอาจมีแค่การให้ยาสลบเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการใส่ท่อ หรือเรื่องของการบล็อกหลังก็อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ปัจจุบันการระงับความเจ็บปวดแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ

  • การให้ยาสลบทั้งตัว : ผู้ป่วยจะหมดสติหรือหลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกเจ็บในขณะผ่าตัด ซึ่งแพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะให้ยาสลบทางหลอดเลือดดำหรือการสูดดมผ่านหน้ากาก  การให้ยาสลบในรูปแบบนี้ใช้ในการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดเปิดช่องท้อง กระดูกในบางส่วน หัวใจและสมอง

  • การให้ยาชาเฉพาะที่ : ผู้ป่วยไม่หมดสติ รู้สึกตัว แต่ไม่รู้สึกเจ็บในบริเวณที่ทำการผ่าตัด หากผู้ป่วยยังมีความกังวลแพทย์ประจำห้องผ่าตัดก็จะให้ยาคลายความเครียด หรือลดความกังวลในระหว่างผ่าตัดร่วมด้วย การให้ยาชาเฉพาะที่ใช้ในกรณีผ่าตัดเล็ก เช่น ผ่าตัดซีสต์ อุบัติเหตุ เป็นต้น

 

เครื่องมือระงับความเจ็บปวดฉบับแพทย์

 

  • ออกซิเจน : แพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะให้ออกซิเจนในระหว่างให้ยาสลบและยาชาเฉพาะที่ ออกซิเจนจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยที่มีการหายใจหรือการทำงานของหัวใจล้มเหลวและผู้ป่วยช็อค แต่ออกซิเจนก็ไม่ใช่จะไร้อันตราย เนื่องจากการให้ออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ตาบอดหรือการทำงานของปอดล้มเหลวได้ แม้แต่ในผู้ใหญ่ถ้าได้รับออกซิเจนมากเกินไป หรือเป็นเวลานานเกินไปก็ทำให้มีอันตรายต่อปอดได้

  • ยาดมสลบ : แพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะให้ผูัป่วยดมยาสลบส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติอย่างรวดเร็วและหลับลึก จนไม่รู้สึกตัวถึงความเจ็บปวดอันร้ายแรงจากมีดผ่าตัด แต่คุณสมบัติที่สำคัญของยาดมสลบก็คือ เมื่อค่อย ๆ ลดยาจนหยุดให้ยาแล้ว ผู้ป่วยซึ่งแน่นิ่งไม่รู้สึกตัวนั้นจะค่อย ๆ ฟื้นคืนสติกลับมาใหม่ โดยไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสมอง

  • ยาชา : ยกตัวอย่างเช่น การบล็อกหลังสตรีมีครรภ์ที่กำลังจะทำการคลอดบุตร โดยแพทย์จะใช้ยาฆ่าเชื้อโรคทาบริเวณหลังเป็นวงกว้าง และฉีดยาชาด้วยเข็มเล็ก แล้วตามด้วยการสอดเข็มใหญ่เข้าไประหว่างกระดูกสันหลังเพื่อหาตำแหน่งที่จะฉีดยาชา วิสัญญีแพทย์สอดท่อซึ่งเป็นสายเล็ก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกชาตั้งแต่ระดับทรวงอกลงไปถึงปลายเท้า ตลอดเวลาที่แพทย์ทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและสามารถได้ยินเสียงสนทนาของแพทย์ประจำห้องผ่าตัดแต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย

 

3 หน้าที่ของวิสัญญีแพทย์

 

  • 1. ก่อนผ่าตัด : แพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะทำหน้าที่ในการวางแผนเกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วย โดยพิจารณาการให้ยาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนการผ่าตัดด้วยการพูดคุย สอบถามประวัติ เช็กผลการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

  • 2. ระหว่างผ่าตัด : ระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ตามความเหมาะสม วิสัญญีแพทย์จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอดระยะเวลาการผ่าตัด ตลอดจนเฝ้าดูความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขจนกว่าจะได้รับความปลอดภัยจนกว่าการผ่าตัดเสร็จสิ้น

  • 3. หลังผ่าตัด : หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น แพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะดูแลตรวจเช็กตามขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย จากนั้นจึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นยังห้องพัก และยังคงต้องติดตามอาการผู้ป่วยต่ออีกระยะหนึ่ง

 

ต่อไปหากมีเหตุจำเป็นที่ต้องรับการผ่าตัด หนึ่งในคนสำคัญที่ทำให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่าระหว่างที่ท่านสลบไม่รู้สึกตัวหรือหลับอยู่นั้นคือแพทย์ประจำห้องผ่าตัดที่เรียกว่า ‘วิสัญญีแพทย์’ ที่จะคอยดูแลท่านอยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย จึงหมดความกังวลในส่วนนี้ได้

 

ยาระงับความรู้สึกมีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและภาวะแทรกซ้อนหรือไม่

 

สิ่งที่ควรทราบเมื่อเข้ารับการผ่าตัด รวมทั้งการให้การระงับความรู้สึก ทั้งการดมยาสลบ การการให้การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน ล้วนมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ทั้งจากตัวผู้ป่วยเองจากโรคที่ได้รับมาจากการผ่าตัด โรคประจำตัว และวิธีการผ่าตัดและจากการระงับความรู้สึก การแพ้ยาดมสลบ แพ้ยาชาที่ให้การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน

 

ทั้งหมดนี้วิสัญญีแพทย์มีหน้าที่คอยเฝ้าระวัง ให้การสังเกตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน แม้แต่ภาวะอันตรายที่เกิดจากการผ่าตัด เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้น

 

วิสัญญีแพทย์และศัลยแพทย์จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือคนไข้ให้ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย

 

____________________________________

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วันเปิดทำการ : บริการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00-19.00 น. (ติดต่อลงทะเบียนก่อนเวลา 18.30 น.)
ตึก/ชั้น : A/16
เบอร์ติดต่อ :
1390

 

Line Official :   @petcharavej  คลิก  
 

____________________________________

แนะนำแพทย์